แชร์

หน้าตาดี เป็นใบเบิกทาง

อัพเดทล่าสุด: 17 มี.ค. 2025
268 ผู้เข้าชม

                โลกนี้ช่างลำเอียง คนหน้าตาดี ทำอะไรก็ได้เปรียบกว่า มีอภิสิทธิ์ มีสิทธิประโยชน์มากกว่าคนอื่น  รู้สึกมีความลำเอียงเพราะหน้าตา คำว่า "หน้าตาดี" จากการศึกษาของ อลัน สเลเตอร์ (Alan Slater) จากมหาวิทยาลัยเอ็กซ์เทอร์ เผยว่าทารกจะใช้เวลามองใบหน้าที่สวยงามเป็นเวลานานกว่า และความงามที่ทารกรับรู้ได้หมายถึงความสมมาตรของใบหน้า คือหากนำใบหน้าของมนุษย์ทั้งโลกมาทับซ้อนกันแล้วหาค่าเฉลี่ย คนหน้าตาดีคือคนที่มีใบหน้าใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยมากที่สุด สมมาตรที่สุด คือมีใบหน้าที่มีสัดส่วนพอดีไม่มีสิ่งใดที่มากไปหรือน้อยไป  และสิ่งนี้คือสัญชาตญาณการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ เนื่องจากใบหน้าที่ดีก็หมายถึงยีน (Gene) ที่ปกติ สมบูรณ์   มนุษย์เราจึงชอบคนหน้าตาดีโดยสัญชาตญาณและมักจะเลือกเป็นคู่ เพื่อทำให้เผ่าพันธุ์มนุษย์อยู่รอดต่อไปได้  นั่นคือมนุษย์ถูกฝั่งความชอบลงในสัญชาตญานไว้แล้ว    ถ้านิยามคำว่า "หน้าตาดี" หมายถึง ความหล่อ ความสวย  ผมจะหมายรวมถึงรูปลักษณ์ที่เห็นภายนอก ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หุ่น การแต่งตัว การแต่งหน้า แต่งตัว รวมถึงบุคลิก ท่าทาง ซึ่งเป็นภาพรวมที่ทำให้คนอื่นรับรู้ในคนๆนั้น  จะเรียกว่า มีออร่า มีโหงวเฮ้งดี มีเสน่ห์ ....แต่ความสวยในภาพรวมก็ขึ้นอยู่กับรสนิยมความชอบของแต่ละคน  บางคนที่เราว่าสวย อีกคนอาจไม่ชอบเหมือนเรา  เช่นกันบางคนที่เรามองว่าไม่สวย แต่อีกคนเขาชอบ   ชาวต่างชาติบางคนอาจชอบสาวผิวคล้ำตามต่างจังหวัดในบ้านเรา ที่เรามองว่าหน้าตาบ้านๆ   นอกเหนือจากสัญาตญาณที่ใช้ตัดสินแล้ว  นิยามความหล่อความสวยของคนเรา ยังสร้างขึ้นมาจากความนิยมในแต่ละสังคม ในแต่ละพื้นที่ ก็จะมี beauty standard ของตัวเรา และสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย  เช่น ผู้หญิงเอเชียต้องรูปร่างผอมบาง ผิวขาวกระจ่างใส ถึงจะสวย ส่วนชาวอเมริกันในบางพื้นที่อาจมองว่าสาวๆ ต้องสะโพกสะบึ้ม ผิวสีแทน .. ไม่ว่าจะยังไง ความชอบเป็นสัญขาตญาณของมนุษย์  และความชอบเป็นต้นเหตุของการลำเอียง  ในโลกความเป็นจริง เรามักพบว่า คนหน้าตาดี  ทำอะไรเหมือนกัน แต่กลับได้รับการยอมรับมากกว่า ได้รับการประเมินที่ดีกว่า  มีโอกาสที่จะชนะ หรือได้รับคะแนนมากกว่า  เรียกได้ว่า ได้เปรียบทุกอย่าง  ทำไมถึงเป็นอย่างงั้นล่ะ 
                ความลำเอียงที่กล่าวมา ในทางจิตวิทยาเป็นเรื่องของ Halo Effect ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ อคติทางความคิด (cognitive bias)  นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน(Edward Thorndike :1920) พบว่า หากมนุษย์รับรู้ถึงคุณสมบัติเพียงข้อเดียวของคนคนหนึ่ง จะทำให้เกิดอคติในอื่นๆตามไปด้วย   เช่น เมื่อเราเห็นคนหล่อคนสวย เราอาจเชื่อว่าเขาเป็นคนดี เป็นมิตร อัธยาศัยดีตามหน้าตาของเขา  เราก็อยากจะมอบสิทธิพิเศษให้กับคนหน้าตาดีโดยที่เราเองก็ไม่รู้ตัว  เพราะเชื่อว่าคนหน้าตาดีเป็นคนดี และสมควรจะได้รับแต่สิ่งดีๆ   ในทางกลับกันคนหล่อคนสวย อาจถูกมองในแง่ร้ายก็ได้ เช่น สวยแต่ไร้ความสามารถ ไม่มีสมอง คนสวยแต่หยิ่ง  ไม่เป็นมิตร บางครั้งก็ถูกเกลียดโดยไม่มีเหตุผล นั่นคือ กลไลของ Halo Effect  และในทางจิตวิทยาก็เรื่องปรากฏการณ์ความคาดหวังสร้างความจริง (Self-Fulfilling Prophecy) ความคาดหวังหรือผลการทำนายนั้นส่งผลให้คนเราทำอะไรที่เอื้อต่อสิ่งที่ตนคาดหวัง และทำให้ผลนั้นออกมาตามที่หวังได้จริง ๆ  ยกตัวอย่างเช่น  มีพนักงานใหม่ นามสกุลดัง ดูบ้านรวย จบนอก  หากความรู้สึกแรก คาดหวังว่า เธอต้องหยิ่งแน่ๆ คงไม่เป็นมิตร  จะแสดงออกแบบดูกังวลและรักษาระยะห่างเมื่อต้องเจอกัน  และคิดไปเองว่าพนักงานใหม่ไม่ค่อยเข้ามาพูดคุยด้วย  ความคิดก็จะสรุปไปเองตามที่คาดไว้ว่า เธอเป็นคนหยิ่งตามที่คิดไว้       หรือมีพนักงานใหม่เข้ามา หน้าตาดี  ความชอบก็เกิดขึ้นและคาดหวังว่า เธอต้องเป็นคนดี เป็นมิตร อัธยาศัยดี ทำงานเก่ง เป็นกำลังช่วยงานในทีมได้ดี  จะแสดงออกด้วยการสนับสนุนด้านต่างๆ อยากได้อะไรหาให้ พูดคุยด้วยการให้เกียรติ น้ำเสียงสุภาพ ไม่ค่อยถูกตำหนิในงานที่ทำผิดพลาด ได้รับโอกาสดีๆในการนำเสนองาน ....        ผมมองว่า กลไก Halo Effect และการแสดงออกแบบ Self-Fulfilling Prophecy  มักจะเกิดเพราะเราไม่รู้ข้อมูลของคนคนหนึ่งมากพอ เราใช้ข้อมูลแค่เปลือกนอกที่เราเห็นในครั้งแรก   เราตัดสินคนจากสัญชาตญานของเราเอง  ทำไปโดยไม่รู้ตัว   ไม่รู้สึกว่ามันเป็นปัญหา ไม่รู้สึกว่าตนเองลำเอียง  แต่พอผ่านเวลาไป มีข้อมูลอย่างอื่นเริ่มเข้ามาเติมมากขึ้น ได้รู้จักมากขึ้น ความลำเอียงก็จะลดลงไป  ได้เห็นความเป็นจริงชัดขึ้น       
               เพราะหน้าตาเป็นใบเบิกทางให้ได้รับโอกาสดีๆ และมนุษย์มักจะลำเอียงให้กับคนหน้าตาดีเสมอ  ปัจจุบันจึงมีธุรกิจเสริมความสวยความงาม และดูแลสุภาพ เกิดขึ้นมากมายในสังคม คนยอมจ่ายเงินจำนวนมาก เพื่อต้องการการยอมรับในสังคม และอยากถูกปฏิบัติอย่างพิเศษกว่าคนอื่นๆ (beauty privilege)  "ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง" จึงเป็นสำนวนไทยที่ยังคงใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย   ในสังคมทุกวันนี้ หากมองว่าเปลือกตัวเองยังไม่ดีพอ ก็สามารถเปลี่ยนเปลือกใหม่ให้หล่อ ให้สวยได้ เพื่อให้ได้รับโอกาสดีๆในด้านต่างๆ  แต่หลังจากนั้นอาจจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้วแต่ตัวบุคคลที่จะดูแลจัดการในการดำเนินชีวิตต่อไป   ส่วนตัวมองว่า มนุษย์ถูกกำหนดให้มีตัวตนที่ยึดติด มาตั้งแต่เป็นทารก ถูกกำหนดให้ใช้ชีวิตตามกรอบสังคมที่มองคุณค่าทางวัตถุ มากกว่าจิตใจ มองเพียงเปลือกนอกที่ห่อหุ้ม ปิดกั้นไม่ให้มองเห็นคุณค่า ความสวยงามที่อยู่ภายใน ซึ่งมีความยั่งยืนมากกว่า  และมนุษย์ทุกคนมีเวลาจำกัดในการใช้ชีวิตอยู่บนโลก ทุกคนต่างมี timeline ของแต่ละคน สั้น-ยาวต่างกัน  ในขณะที่เวลากำลังหมุนไป ต่างก็ใช้ชีวิตตามเหตุผลของการมีชีวิตอยู่ในแต่ละคน    โอกาสไม่ได้มีทุกคน ถ้าได้รับโอกาส จงใช้โอกาสที่ได้รับมาให้ดีที่สุด ให้คุ้มค่ากับเวลาที่หายไปทุกวินาที  

พ่อหมูตู้


บทความที่เกี่ยวข้อง
กบต้ม
บนโลกที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหลีกหนีไม่พ้น การรู้ทัน และปรับตัว เป็นทางเลือกในการเอาตัวรอด
28 เม.ย. 2025
ซื้อถั่วย่อมได้ถั่ว
เรื่องเล่าถึง บางทีคุณภาพ หรือความคาดหวังที่ได้รับ มีราคาของมันที่ต้องจ่าย สินค้าหรือบริการที่ดีกว่า ย่อมแพงกว่า ซึ่งอาจไม่แน่เสมอไปบางทีการจ่ายไป อาจไม่ได้คุณภาพ หรือตรงตามคาดหวัง
20 เม.ย. 2025
แบกลิงกอริลลา โดยไม่รู้ตัว ?
แนวคิดเรื่องการบริการจัดการงานกับทรัพยากรที่มีอยู่
14 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy